โพลิเนชั่น Pollination
ริเริ่มโดย เดอะ แฟคทอรี่ อาร์ท เซ็นเตอร์ (กรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม) ในปี 2561 โครงการ ‘Pollination’ เปิดโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่างภัณฑารักษ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการสนับสนุนโดยความร่วมมือของสถาบันศิลปะเอกชนในภูมิภาค เพื่อเน้นให้เห็นถึงคุณค่าแห่งการแบ่งปัน (เช่นเดียวกับการผสมผสาน) ทั้งในด้านความคิดเชิงวิพากษ์ และกิจกรรมอันหลากหลาย ซึ่งมีเจตนาที่จะเสริมสร้างสังคมภูมิภาคของกลุ่มผู้ผลิต อันเป็นการเชื่อมโยงบุคคลผู้มีความสามารถให้เป็นที่รู้จักกับ เครือข่าย พื้นที่ และโอกาส Pollination มุ่งหวังที่จะสนับสนุนและดูแลการปฏิบัติการเชิงศิลปะ โดยทำหน้าที่พิสูจน์ความสมเหตุสมผล น้ำหนักของเนื้อหา และการทำงาน ผ่านการตั้งคำถามและสื่อสารในมุมมองเชิงลึก ที่ตัวศิลปินและภัณฑารักษ์สามารถแลกเปลี่ยนและสะท้อนความเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา งานเขียนและการเสวนาหรือการอภิปรายที่เข้มข้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เฉกเช่นทรัพยากรภายในที่เราสามารถทำการเข้าถึงและเปรียบเทียบคุณค่าได้ Pollination ได้รับการวางแผนให้เป็นโครงการซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือกันในระยะยาว ระหว่างหน่วยงาน สถาบัน และกลุ่มสังคมต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้เป้าหมายเพื่อการเสนอโอกาส ให้กับภัณฑารักษ์และศิลปินรุ่นใหม่ได้ทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ผู้ซึ่งมีแก่นและทัศนะคติคล้าย ๆ กันภายในภูมิภาคของพวกเขาเอง ในฐานะที่เป็นองค์กรเอกชน/ซึ่งไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาล องค์กรแรกที่ริเริ่มการปฏิบัติงานลักษณะดังกล่าว Pollination มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนา สนับสนุน และบำรุงทักษะและความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินและภัณฑารักษ์ ผู้มีความสนใจในการทำงาน (และตั้งคำถาม) เกี่ยวกับโครงสร้างสถาบันต่าง ๆ อันเป็นภาพลักษณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สามของโครงการ Pollination โครงการวิจัยที่เริ่มขึ้นเมื่อช่วงก่อนโรคระบาดในปี 2563 มีส่วนประกอบในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้คือ งานนิทรรศการ การสัมมนาออนไลน์ และเว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
โครงการ Pollination ครั้งที่สามจัดขึ้นโดย The Factory Contemporary Arts Centre; ร่วมสนับสนุนโดย SAM Funds for Arts and Ecology, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วสมัยใหม่เอี่ยม และ Grey Center for Art and Enquiry, The University of Chicago ด้วยการสนับสนุนจาก Selasar Sunaryo Art Centre
โครงการ ‘Pollination’ ครั้งที่สาม คัดสรรโดย เลอร์ และ กิตติมา จารีประสิทธิ์ ภายในชื่อ ‘Of Hunters and Gatherers’ กิจกรรมจะประกอบไปด้วย นิทรรศการ การจัดเสวนารูปแบบออนไลน์ และเว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
‘นักล่า’ คือนิทรรศการร่วมระหว่าง มาริอันโต (ยอคยาการ์ตา) และเรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล (กรุงเทพฯ) จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ (19 มีนาคม – 30 มิถุนายน 2564) และจะเดินทางไปแสดงต่อที่ ใหม่อีหลี อาร์ต สเปซ (ขอนแก่น, ปลายปี 2564) หลักจากได้ศึกษาร่วมกันตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 รวมถึงการเดินการลงพื้นที่ทั้งบริเวณรอบของภูเขาไฟเมอราปีที่ยังคุกรุ่น ในยอคยาการ์ตา จนถึงแม่น้ำโขงตอนล่างบริเวณชายแดนประเทศไทย – ลาวที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน พวกเขาได้พบเจอศิลปินที่ทำงานเฉพาะด้าน ผลงานศิลปะ ผลงานการแสดง และผลงานวิจัยทางสังคม ที่ต่างสนใจในประเด็นความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น อันเนื่องมาจากความเป็นจริงที่รัฐบาลเพิกเฉย การสกัดเอาทรัพยากรในอาณานิคม และ ความละโมบของบริษัทใหญ่ พวกเขาจึงสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับ ‘องค์ความรู้ท้องถิ่นที่ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน’ (นิทานพื้นบ้าน นิทานปรับปรา เรื่องเล่าก่อนนอน และวิธีการพื้นถิ่นในการธำรงไว้ซึ่งระบบนิเวศ) เหล่าภัณฑารักษ์ตระหนักได้ถึงความจำเป็นในการรับฟังด้านอื่น ๆ ของเรื่องราว ไม่ใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง เรื่องเล่าที่แตกต่างกันนี้ปรากฏในรูปแบบของการเสวนาออนไลน์ ระหว่างวันที่ 28 – 30 พฤษภาคม 2564 โดยใช้ชื่อ ‘ผู้รวบรวม’ จัดขึ้นโดย Selasar Sunaryo Art Space (บันดุง)
การเสวนาดังกล่าวหมายจะเปิดตัวเว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ‘www.ofhuntersandgatherers.com’ โดยครอบคลุมทั้งผลงานเขียนใหม่และผลงานเดิมที่เคยตีพิมพ์แล้ว ไปจนถึงเอกสารบันทึกเกี่ยวกับนิทรรศการ วีดิโอสัมภาษณ์ เว็ปไซต์นี้มุ่งหมายจะเป็นพื้นที่ทางเลือกในการเรียนรู้เกี่ยวกับ ‘องค์ความรู้ท้องถิ่นที่ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน’ และความเชื่อมโยงขององค์ความรู้ดังกล่าวกับการคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนทางระบบนิเวศอีกครั้ง โดยความร่วมมือจากเหล่าผู้ทำงานสร้างสรรค์ในหลายหลายรูปแบบ ได้แก่ เลอร์ (มิร่า อัสลินนิงเตียส และ ดิโต้ ยูโวโน), กิตติมา จารีประสิทธิ์, เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล, มาริอันโต้, พริลลา ทาเนีย, เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัม, อลิซาเบธ ดี อีนานเดียก, วุฒ ชลานันต์, เจเจ ริซาล, ติตา ซารีน่า, ณภัค เสรีรักษ์, สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา บรรณาธิการโดย โซอี้ บัต, ลี เวง ชอย ออกแบบโดย รักพงษ์ รัยมธุรพงษ์ และ โยนาส คริสตี้ ซานจายา
กิจกรรมสาธารณะชุดนี้ถูกเชื่อว่าเป็นการสร้างสะพานเชื่อมระหว่าง ‘นักล่า’ และ ‘ผู้รวบรวม’ ซึ่งกิจกรรมในปี 2564 ได้แก่ ‘The Plus Partnership Series’ จัดขึ้นโดย Art Curator Grid ภายใต้ชื่อ “Curator Conversation: Of Hunters and Gatherers” ในวันที่ 1 เมษายน 2564 ร่วมด้วย ‘FarBar’ โดย Gray Centre for Arts and Inquiry (University of Chicago) ภายใต้ชื่อ “Land, River, and Sea: The Moving Landscape ‘Of Hunters and Gatherers’” โดยประกอบด้วยกิจกรรมฉายภาพยนตร์ 3 สัปดาห์ เป็นผลงานจาก มาริอันโต้, นนทวัฒน์ นําเบญจพล, พริลลา ทาเนีย, ติตา ซารีน่า และ วุฒ ชลานันต์ (21 เมษายน – 12 พฤษภาคม 2564) รวมถึงการเสวนาออนไลน์ในวันที่ 28 เมษายน 2564 เข้าชมบันทึกของการเสาวนาดังกล่าวได้ที่นี่
‘Pollination’ ริเริ่มโดย เดอะ แฟคทอรี่ อาร์ท เซ็นเตอร์ (กรุงโฮจิมินห์) ในปี 2561 การจัดขึ้นเป็นครั้งที่สามของโครงการนี้เป็นไปได้โดยการสนับสนุนของ SAM Fund for Arts nd Ecology (จาการ์ตา) พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม (เชียงใหม่) ด้วยการสนับสนุนจาก Selasar Sunaryo Art Space (บันดุง) และ Gray Center for Arts and Inquiry (University of Chicago, สหรัฐอเมริกา) ขอขอบคุณที่ปรึกษาภัณฑ์รักษ์ อากุง ฮูจาทนิกาเจนอง, วิภาช ภูริชานนท์ และ โซอี้ บัต อีกทั้งขอขอบคุณไปยัง นาตาชา เซฮารา และ เอริค บูซท์ เป็นพิเศษสำหรับความเชื่อมั่นที่มอบให้โครงการของเรา!
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ‘Pollination’ ได้ทาง https://factoryartscentre.com/en/programs/pollination-eng/
กิจกรรมซิมโพเซียมรูปแบบออนไลน์จะจัดขึ้นในวันที่ (28 – 30 พฤษภาคม 2564) โดยมีเป้าหมายเพื่อจะรวบรวมงานวิจัย เรื่องเล่า และมุมมองจากหลากหลายศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังโครงการ Pollination เข้าด้วยกันในชื่อ ‘Of Hunters and Gatherers’ คัดสรรโดยภัณฑารักษ์ เลอร์ ( LIR) และ กิตติมา จารีประสิทธิ์ คู่ขนาดไปกับการทำงานร่วมกับศิลปิน มาริอันโต้ และเรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล
ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ภัณฑารักษ์ได้ร่วมทำงานกับศิลปินผ่านการลงพื้นที่ทั้งบริเวณรอบของภูเขาไฟเมอราปีที่ยังคุกรุ่น ในยอคยาการ์ตา จนถึงแม่น้ำโขงตอนล่างบริเวณชายแดนประเทศไทย-ลาวที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน พวกเขาได้พบเจอศิลปินที่ทำงานเฉพาะด้าน, ผลงานศิลปะ, ผลงานการแสดง และผลงานวิจัยทางสังคม ที่ต่างสนใจในประเด็นความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น อันเนื่องมาจากความเป็นจริงที่รัฐบาลเพิกเฉย การสกัดเอาทรัพยากรในอาณานิคม และ ความละโมบของบริษัทใหญ่ พวกเขาจึงสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับ ‘องค์ความรู้ท้องถิ่นที่ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน’ (นิทานพื้นบ้าน นิทานปรับปรา เรื่องเล่าก่อนนอน และวิธีการพื้นถิ่นในการธำรงไว้ซึ่งระบบนิเวศ) เหล่าภัณฑารักษ์ตระหนักได้ถึงความจำเป็นในการรับฟังด้านอื่น ๆ ของเรื่องราว ไม่ใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นการเสวนาออนไลน์ในครั้งนี้จึงได้รวบรวมเหล่านักคิดจากทั้งประเทศอินโดนิเซีย ไทย และอินเดีย (ศิลปิน, นักประวัติศาสตร์, คนทำภาพยนตร์, ภัณฑารักษ์, นักเขียน, นักสังคมศาสตร์ และอื่นๆ) เพื่อที่จะแบ่งปันทั้งผลงาน ความคิดเห็น ที่ขยายความความหมายถึง ‘การล่า’ เพื่อสนองความต้องการอันหลากหลายของพวกเรา ผ่านการใช้เวลา ‘รวบรวม’ มุมมองที่แตกต่างหลากหลายที่จะไปสู่อนาคตข้างหน้า กิจกรรมซิมโพเซียมรูปแบบออนไลน์นี้จะมอบมุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ‘Pollination’ ครั้งที่สาม ทั้งในรูปแบบการบันทึกทั้งตัวบทและภาพในเชิงศิลปะ งานภัณฑารักษ์ และ การวิจัยเชิงทฤษฎีที่ต่างเกิดขึ้นภายใต้โครงการนี้
เว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะนี้ จะเปิดให้เข้าชมได้ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เนื้อหาทั้งหมดถูกแปลในสามภาษาทั้งไทย อังกฤษ และอินโดนิเซีย โดยครอบคลุมทั้งผลงานเขียนใหม่และผลงานเดิมที่เคยตีพิมพ์แล้ว ไปจนถึงเอกสารบันทึกเกี่ยวกับนิทรรศการ วีดิโอสัมภาษณ์ เว็ปไซต์นี้มุ่งหมายจะเป็นพื้นที่ทางเลือกในการเรียนรู้เกี่ยวกับ ‘องค์ความรู้ท้องถิ่นที่ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน’ และความเชื่อมโยงขององค์ความรู้ดังกล่าวกับการคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนทางระบบนิเวศอีกครั้ง โดยความร่วมมือจากเหล่าผู้ทำงานสร้างสรรค์ในหลายหลายรูปแบบ ได้แก่ เลอร์ (มิร่า อัสลินนิงเตียส และ ดิโต้ ยูโวโน), กิตติมา จารีประสิทธิ์, เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล, มาริอันโต้, พริลลา ทาเนีย, เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัม, อลิซาเบธ ดี อีนานเดียก, วุฒ ชลานันต์, เจเจ ริซาล, ติตา ซารีน่า, ณภัค เสรีรักษ์, สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา บรรณาธิการโดย โซอี้ บัต, ลี เวง ชอย ออกแบบโดย รักพงษ์ รัยมธุรพงษ์ และ โยนาส คริสตี้ ซานจายา
ดร.อากุง ฮูจาทนิกา to ดร.อากุง ฮูจาทนิกาเจนนอง
ดร. อากุง ฮูจาทนิกา (Dr. Agung Hujatnika) หรือรู้จักในนาม อากุง ฮูจาทนิกาเจนอง (Agung Hujatnikajennong) ภัณฑารักษ์อิสระและอาจารย์ประจำคณะศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีบันดุง นิทรรศการที่เขาได้คัดสรร ได้แก่ Fluid Zones, Jakarta Biennale ARENA (พ.ศ.2552); Exquisite Corpse, Bandung Pavilion for the Shanghai Biennale (พ.ศ.2555); Not a Dead End, Jogja Biennale – Equator #2 (พ.ศ.2556); Passion/ Possession (พ.ศ.2557) และนิทรรศการเดี่ยวของ Tintin Wulia, 1001 Martian Homes, Indonesian Pavilion, Venice Biennale (พ.ศ.2560) เขาเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศิลป์ให้กับ Instrumenta นิทรรศการสื่อศิลปะในจาการ์ตา (พ.ศ.2561-2562) อากุงได้มีส่วนร่วมในหลากหลายโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับศิลปะในอินโดนีเซียและเอเชียอาคเนย์ Ambitious Alignments (พ.ศ.2556-2558) และ Shaping Indonesian Contemporary Arts – Role of the Institutions (พ.ศ.2557-2560) หนังสือของเขาชื่อ Kurasi dan Kuasa ซึ่งเกี่ยวกับการทำงานภัณฑารักษ์และความสัมพันธ์ทางอำนาจในโลกศิลปะของอินโดนีเซียถูกตีพิมพ์โดย Jakarta Arts Council (พ.ศ.2558)
วิภาช ภูริชานนท์
วิภาช ภูริชานนท์ (Vipash Purichanont) ภัณฑารักษ์ผู้พำนักในกรุงเทพมหานคร เขาดำรงตำแหน่งอาจารย์ที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาเป็นภัณฑารักษ์ในโครงการ Kamin Lertchaiprasert: 31st Century Museum of Contemporary Spirit, ชิคาโก้ (พ.ศ.2554); Tawatchai Puntusawasdi: Superfold, กัวลาลัมเปอร์ (พ.ศ.2562) และ Concept Context Contestation: Art and the Collective in Southeast Asia, กรุงเทพฯ, ยอคยาการ์ตา, ฮานอย, ย่างกุ้ง (พ.ศ.2556-2562) ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ใน Thailand Biennale, กระบี่ (พ.ศ.2561) เป็นภัณฑารักษ์ใน Singapore Biennale 2019, สิงคโปร์ (พ.ศ.2562) และเป็นภัณฑารักษ์ร่วมใน Thailand Biennale (นครราชสีมา, พ.ศ.2564) รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งร่วมของ Waiting You Curator Lab กลุ่มภัณฑารักษ์ซึ่งพำนักอยู่จังหวัดเชียงใหม่
กิตติมา จารีประสิทธิ์
กิตติมา จารีประสิทธิ์ (Kittima Chareeprasit) จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขา Curating & Collections จาก Chelsea College of Arts ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งภัณฑารักษ์ให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จังหวัด เชียงใหม่ เธอร่วมเปิดห้องทดลองภัณฑารักษ์และสำนักพิมพ์หนังสือศิลปิน ในนาม Waiting You Curator Lab (2559) กิตติมาสนใจศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยเฉพาะประเด็นที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ สังคม และการเมืองเชิงวิพากษ์ ทั้งที่เกี่ยวกับประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานร่วมกับนัก วิชาการ ศิลปิน องค์กร และพื้นที่ทางศิลปะในหลากหลายรูปแบบจากหลากหลายประเทศ
กิตติมาได้ร่วมทำงานทั้งในฐานะภัณฑารักษ์หลักและภัณฑารักษ์ร่วม เธอเป็นภัณฑารักษ์นิทรรศการ House Calls: Pinaree Sanpitak ที่ มูลนิธิ 100 ต้นสน (2563) Breast Stupa Cookery: the world turns upside down ที่ โนว่า คอนเทมโพรารี่ (2563) แดนชั่ว ขณะ: ศิลปะสะสมใหม่เอี่ยม พ.ศ. 2553 – 2562 (2562), นิทรรศการ In search of other times: reminiscence of things collected ที่ JWD Art Space กรุงเทพ (2562) นิทรรศการ Occasionally Utility ที่แกลเลอรี่เว่อร์ กรุงเทพฯ (2560), นิทรรศการ The Thing That Takes Us Apart ที่แกลเลอรี่ซีสเขป เชียงใหม่ (2560) เป็นต้น
เลอร์
เลอร์ (LIR) (ยอคยาการ์ตา) คือ สถาบันศิลปะจัดซึ่งตั้งขึ้นโดยกลุ่มภัณฑารักษ์ มิร่า อัสลินนิงเตียส (เกิด พ.ศ. 2529, พำนักอยู่ที่เมือง ยอคยาการ์ตา) และ ดิโต้ ยูโวโน (เกิด พ.ศ. 2528, พำนักอยู่ที่เมือง ยอคยาการ์ตา) นับตั้งแต่ปี 2554 การทำงานของเลอร์ ครอบคลุมทั้งนิทรรศการเชิงทดลอง โครงการวิจัยสู่กิจกรรมสาธารณะ โครงการศิลปินพำนัก ไปจนถึงการเป็นพื้นที่ศึกษาศิลปะทางเลือก กิจกรรมของเลอร์แสดงให้เห็นถึงการผสานและข้ามศาสตร์และการทำงานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการนำเสนอนิทรรศการที่สนับสนุนการส่งผ่านการเปลี่ยนแปลงย่างต่อเนื่องของความรู้ ความทรงจำ และประวัติศาสตร์ จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ผลงานล่าสุดของเลอร์ได้แก่ นิทรรศการชุด Curated by LIR, KKF, ยอคยาการ์ตา, พ.ศ.2561-2563); Transient Museum of a Thousand Conversations, ISCP, นิวยอร์ก, พ.ศ.2563 และ 900mdpl, คาลูรัง, พ.ศ. 2560, 2562 และ 2564 รวมถึง โครงการระยะยาวที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ ณ เมืองคาลูรัง ประเทศอินโดนีเซีย โดยศึกษาเกี่ยวกับหมู่บ้านเก่าแก่บริเวณใต้ภูเขาไฟ ด้วยความตั้งใจที่จะเก็บรักษาความทรงจำร่วมของผู้คนในพื้นนั้น
แมรีอันโต (ID)
มาริอันโต้ (Maryanto) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีขาวดำ ภาพวาดเส้น และศิลปะจัดวางอันชวนหลากหลายรูปแบบ ผลงานของเขาทำลายภาษาอันเย้ายวนแห่งจิตรกรรมภูมิทัศน์แบบดั้งเดิม เพื่อสำรวจโครงสร้างทางสังคมและการเมืองของสถานที่จริงที่ปรากฏในงาน
ผ่านการทำให้พื้นที่เหล่านั้นเสมือนกับเป็นนิทานและฉากของโรงละคร จิตรกรรมภูมิทัศน์เหล่านั้นนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับเหล่าผู้ตั้งอาณานิคมและนายทุน ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี การทำให้เป็นอุตสาหกรรม มลพิษในที่ดิน และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ มาริอันโต้จบการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ ณ สถาบัน Indonesia Institute of the Art เมือง ยอคยาการ์ตา ในปี 2547 เขาเข้าร่วมโครงการศิลปินพำนักที่ Rijksakademie ณ อัมสเตอร์ดัม ในปี 2556 นิทรรศการที่จดจำของเขาได้แก่ Permanent Osmosis, LIR Space, ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2562, นิทรรศการเดี่ยว); A Journey of Forking Paths, Yeo Workshop, สิงคโปร์ (พ.ศ.2562, นิทรรศการเดี่ยว); On the Shoulders of Fallen Giants: 2nd Industrial Art Biennial, Labin, โครเอเชีย (พ.ศ.2561); Behind the Terrain, Koganei Art Spot Chateau, โตเกียว (พ.ศ.2561) มาริอันโต้เกิดที่จาร์กาต้า ปัจจุบันอาศัยและทำงานในยอคยาการ์ตา
เรืองศักดิ์ อนุวัฒน์วิมล (TH)
เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล (Ruangsak Anuwatwimon) เกิดและอาศัยในกรุงเทพมหานคร สร้างสรรค์ผลงานโดยได้รับแรงบันดาลใจและถูกขับเคลื่อนด้วยประเด็นทางการเมืองรวมไปถึงสถานการณ์ในสังคมที่เขาได้ประสบพบเจอในชีวิต ในการทำงานศิลปะ เขาสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหลักอย่างมนุษย์และโลกแห่งธรรมชาติด้วยการใช้สื่อที่หลากหลาย ผลงานของเขาจึงท้าทายทั้งความหมายและขอบเขตของคำว่า ‘งานศิลปะ’ ด้วยการตั้งคำถามถึงประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และศีลธรรมของสังคมมนุษย์ ผลงานของเขาได้จัดแสดงในหลากหลายนิทรรศการ อาทิ ‘Monstrous Phenomenon’, 1Projects, กรุงเทพฯ (พ.ศ.2562, นิทรรศการเดี่ยว); แดนชั่ว ขณะ: ศิลปะสะสมใหม่เอี่ยม พ.ศ.2553 – 2562, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม, เชียงใหม่ (พ.ศ.๒๕๖๒); Every Step in the Right Direction – Singapore Biennale 2019, สิงคโปร์ (พ.ศ.2562); Post-Nature – A Museum as an Ecosystem: 11th Taipei Biennial, ไทเป (พ.ศ.2561) และปี 2563 เรืองศักดิ์ได้เป็นส่วนหนึ่งของ บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่
ลี เวง ชอย
ลี เวง ชอย (Lee Weng Choy) นักวิจารณ์และที่ปรึกษาทางด้านศิลปะ เขาได้ร่วมโครงการกับหลากหลายองค์กรศิลปะ เช่น Ilham Gallery และ A+ Works of Art, กัวลาลัมเปอร์ และ NTU Centre for Contemporary Art Singapore และ National Gallery Singapore, สิงคโปร์ เขาเขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยและวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทความของปรากฏในหลากหลายวารสาร เช่น Afterall and anthologies such as Modern and Contemporary Southeast Asian Art, Over Here: International Perspectives on Art and Culture and Theory in Contemporary Art since 1985 ปัจจุบัน ลีดำรงตำแหน่งประธานใน Singapore Section of the International Association of Art Critics ที่ผ่านมา เขาเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศิลป์ร่วมของ The Substation, สิงคโปร์ สอนหนังสือใน School of the Art Institute of Chicago, Chinese University of Hong Kong และ Sotheby’s Institute of Art, สิงคโปร์
โซอี้ บัต
โซอี้ บัต (Zoe Butt) ภัณฑารักษ์และนักเขียน พำนักในประเทศเวียดนาม การทำงานของเธอมุ่งเน้นการสร้างความคิดเชิงวิพากษ์ และชุมชนศิลปะที่มีการตระหนักรู้เชิงประวัติศาสตร์ รวมถึงสนับสนุนการสร้างบทสนทนาภายในกลุ่มประเทศโลกที่สาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยศิลป์การประจำ Factory Contemporary Arts Centre, นครโฮจิมินห์ พื้นที่แรกในเวียดนามที่สร้างขึ้นสำหรับศิลปะร่วมสมัย ก่อนหน้านี้ โซอี้เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและภัณฑารักษ์ประจำ Sàn Art, นครโฮจิมินห์ (พ.ศ.2552-2559); ผู้อำนวยการโครงการต่างประเทศที่ Long March Project, กรุงปักกิ่ง (พ.ศ.2550-2552); และผู้ช่วยภัณฑารักษ์ที่ Contemporary Asian Art, Queensland Art Gallery, บริสเบน (พ.ศ.2544-2550) ซึ่งต่อมาได้มุ่งเน้นการพัฒนานิทรรศการ Asia-Pacific Triennial of Contemporary Art งานเขียนของเธอถูกเผยแพร่โดย Hatje Cantz; ArtReview; Independent Curators International; ArtAsiaPacific; Printed Project; Lalit Kala Akademi; JRP-Ringier; Routledge และ Sternberg Press เป็นต้น โครงการของเธอ รวมถึงแพลตฟอร์มการสร้างบทสนทนาเชิงสหวิทยาการ ได้แก่ Conscious Realities (พ.ศ.2556-2559); นิทรรศการออนไลน์ Embedded South(s) (พ.ศ.2559); และนิทรรศการกลุ่มโดยศิลปินชาวเวียดนามและศิลปินนานาชาติที่จัดขึ้นในหลากหลายสถานที่ นิทรรศการเมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่ Sharjah Biennial 14: Leaving the Echo Chamber – Journey Beyond the Arrow, (พ.ศ.2562); Empty Forest: Tuan Andrew Nguyen (พ.ศ.2561); Spirit of Friendship and Poetic Amnesia: Phan Thao Nguyen (พ.ศ.2560); Dislocate: Bui Cong Khanh (พ.ศ.2559), Conjuring Capital (พ.ศ.2558) โซอี้เป็นหนึ่งในภัณฑารักษ์นานาชาติของ MoMA; สมาชิกของ Asian Art Council โดย Solomon R. Guggenheim Museum นิวยอร์ก และในปี 2558 เธอเคยถูกเรียกว่าเป็นผู้นำโลกรุ่นเยาวชนจากสภาเศรษฐกิจโลก
อดัม บ็อบเบ็ต
อดัม บ็อบเบ็ต (Adam Bobbette) เป็นนักภูมิศาสตร์และนักวิจัยในโครงการวิจัย New Earth Histories มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ซิดนีย์
อลิซาเบธ ดี อีนานเดียก
อลิซาเบธ ดี อีนานเดียก (Elisabeth D. Inandiak) เป็นนักเขียน นักแปล และข้าราชการ เกิดที่ประเทศฝรั่งเศส เธอเริ่มเดินทางทั่วโลกในฐานะนักสื่อมวลชนตอนอายุ 19 ปี เขียนวรรณคดีหลายเล่ม เช่น เรื่องราวชีวิตของ Marceline Loridan Ivens หญิงเชื้อสายยิวผู้ถูกเนรเทศในค่ายกักกันเอาท์วิทซ์ ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รวมถึงได้เขียนบทภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น A Tale of the Wind ร่วมกับผู้กำกับสารคดีชาวดัตช์ Joris Ivens ในปี 2532 เธอลงหลักปักฐานที่ยอคยาการ์ตา อลิซาเบธเรียบเรียงวรรณกรรมชวาชื่อดัง อย่าง Serat Centhini ให้เป็นฉบับคริสต์ศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชื่อว่า Kekasih yang Tersembunyi หลังจากแผ่นดินไหววันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2549 เธอได้ก่อตั้งสตูดิโอ Giri Gino Guno ใน เบเบกัน บันตุล ขณะที่เกิดการระเบิดของภูเขาไฟเมอราปีวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2553 เธอและโรงเรียนประจำ Al Qodir Islamic ได้ร่วมกันจัดหาที่อยู่อาศัยให้ผู้คนจากหมู่บ้านคินาเจโรจนกระทั่งพวกเขาสามารถกลับไปยังบ้านของพวกเขาได้
จากประสบการณ์ในภัยพิบัติทางธรรมชาติสองครั้งนี้ ได้เกิดเป็นหนังสือ Babad Ngalor-Ngidul ซึ่งได้ศิลปิน Heri Dono มาร่วมวาดภาพประกอบ เป็นหนังสือภาคต่อของ Lahirnya Kembali Beringin Putih (พ.ศ.2542) เธอได้สร้างผลงานล่าสุดร่วมกับชาวบ้านจากหมู่บ้าน Muara Jambi ในสุมาตรา โดยใช้ชื่อ Mimpi-Mimpi dari Pulau Emas ซึ่งประกอบด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน นิทานปรัมปรา และการใช้ดวงตาที่สามเพื่อการขุดค้นโบราณสถานทางพุทธศาสนา นับว่าเป็นการสร้างปัญญาและความสงบสุขร่วมกันกับพวกเขา
เจเจ ริซาล
เจเจ ริซาล (JJ Rizal) เป็นนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และผู้ก่อตั้ง Penerbit Komunitas Bambu สำนักพิมพ์ที่มุ่งเสนอเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม งานวิจัยของเขาให้ความสนใจในประวัติศาสตร์ของ บาตาเวีย-เบอตาวี-จาการ์ตา ซึ่งถูกตีพิมพ์อย่างแพร่หลายบนนิตยสาร MOESSON Het Indisch Maandblad (พ.ศ.2544-2549) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ปี 2552 เขาได้รับรางวัล DKI Jakarta Governor Cultural Award ผลงานการเขียนเกี่ยวกับ Junghuhn ของเขาได้รับเลือกให้เป็น “The Best International 2010” โดยนิตยสาร National Geographic International จากกว่าร้อยบทความในนิตยสาร National Geographic นอกสหรัฐอเมริกากว่า 36 ฉบับ ในปี 2554 เขาได้รับรางวัล Jakarta Book Awards IKAPI (Indonesian Publisher Association) จาการ์ตา ซึ่งถูกพิจารณาให้เป็น
“หนังสือที่ให้ความรู้และเปลี่ยนชีวิต” งานตีพิมพ์อื่น ๆ ของเขา เช่น Politik Kota Kita (พ.ศ.2549); Onze Ong: Onghokham dalam Kenangan (พ.ศ.2550); Sejarah yang Memihak: Mengenang Sartono Kartodirdjo (พ.ศ.2551) และ Raden Saleh: Anak Belanda, Mooi Indie dan Nasionalisme
กิตติมา จารีประสิทธิ์
กิตติมา จารีประสิทธิ์ (Kittima Chareeprasit) จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขา Curating & Collections จาก Chelsea College of Arts ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งภัณฑารักษ์ให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จังหวัด เชียงใหม่ เธอร่วมเปิดห้องทดลองภัณฑารักษ์และสำนักพิมพ์หนังสือศิลปิน ในนาม Waiting You Curator Lab (2559) กิตติมาสนใจศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยเฉพาะประเด็นที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ สังคม และการเมืองเชิงวิพากษ์ ทั้งที่เกี่ยวกับประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานร่วมกับนัก วิชาการ ศิลปิน องค์กร และพื้นที่ทางศิลปะในหลากหลายรูปแบบจากหลากหลายประเทศ
กิตติมาได้ร่วมทำงานทั้งในฐานะภัณฑารักษ์หลักและภัณฑารักษ์ร่วม เธอเป็นภัณฑารักษ์นิทรรศการ House Calls: Pinaree Sanpitak ที่ มูลนิธิ 100 ต้นสน (2563) Breast Stupa Cookery: the world turns upside down
ที่ โนว่า คอนเทมโพรารี่ (2563) แดนชั่ว ขณะ: ศิลปะสะสมใหม่เอี่ยม พ.ศ. 2553 – 2562 (2562), นิทรรศการ In search of other times: reminiscence of things collected ที่ JWD Art Space กรุงเทพ (2562) นิทรรศการ Occasionally Utility ที่แกลเลอรี่เว่อร์ กรุงเทพฯ (2560), นิทรรศการ The Thing That Takes Us Apart ที่แกลเลอรี่ซีสเขป เชียงใหม่ (2560) เป็นต้น
มิร่า อัสลินนิงเตียส
มิร่า อัสลินนิงเตียส (Mira Asriningtyas) เป็นภัณฑรักษ์อิสระและนักเขียนเกี่ยวกับศิลปะ อาศัยในยอคยาการ์ตา อินโดนีเซีย เธอเป็นส่วนหนึ่งของ De Appel Cura- torial Program 2016/2017, De Appel Art Center, อัมสเตอร์ดัม และ RAW Academie 6: CURA ณ RAW Material Company, ดาก้า นอกจากนี้เธอทำโครงการ Poetry of Space, จาการ์ตา และ ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2557); Fine (Art) Dining, Lir Space, ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2559); Goodluck, See You After The Revolution, UVA, อัมสเตอร์ดัม (พ.ศ.2560); Why is Everybody Being So Nice?, De Appel Art Center and Stedelijk Museum, อัมสเตอร์ดัม, (พ.ศ.2560); Coming Soon, Fondazione Sandretto Re Rebaudengo, ตูริน (พ.ศ.2561) และ The Transient Museum of a Thousand Conversation, ISCP, นครนิวยอร์ก (พ.ศ.2563) เป็นต้น ในปี 2560 เธอเริ่มทำ 900mdpl โครงการศิลปะเบียนนาเล่รูปแบบเฉพาะเจาะจงพื้นที่ในบ้านเกิดของเธออย่างเมืองคาลูรัง ที่ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งอยู่บริเวณตีนภูเขาไฟเมอราปี เพื่อเก็บรักษากลุ่มความทรงจำ ด้วยการเชิญชวนคนในท้องถิ่นและศิลปินต่างชาติมาร่วมพำนักและรวบรวมความทรงจำเชิงสังคมที่เกี่ยวพันธ์กับพื้นที่ดังกล่าว แนวความคิดเรื่องการเรียนรู้จากองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายอันฝังรากในบริบทท้องถิ่นเพื่อสำรวจระบบองค์ความรู้ ความยั่งยืนทางนิเวศวิทยา และผลกระทบของลัทธิอาณานิคมได้กลายมาเป็นวิธีการหลักในการวิจัยทั้งหลายของเธอ เช่น Genealogy of Ghost and How to Co-Live with Them, Ono-matopee, ไอนด์โอเวน (พ.ศ.2564) และงานตีพิมพ์ เช่น Re- visiting the Long Slow Walk to 900mdpl: a Personal Note ใน www.naturalcapital.online; Popping the Utopian Bubble of Yogyakarta Art Scene, Metropolis M (พ.ย. 2560); Sugar, Spice, and Everything Nice: A Proposal of Possibilities and Disobedience, De Appel Art Center, อัมสเตอร์ดัม และ When Did You Last Sip Tea from the Saucer?, NERO and FSRR, อิตาลี
ณภัค เสรีรักษ์
ณภัค เสรีรักษ์ เป็นนักมานุษยวิทยาและนักวิจัยอิสระ เขาจบปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ และปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ระหว่างปี 2556 – 2560 งานเขียนจำนวนหนึ่งของเขามุ่งทำความเข้าใจประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของความรู้ทางการแพทย์ว่าด้วยเพศในสังคมไทย โดยอาศัยแนวการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์วิถีทางเพศ มานุษยวิทยาการแพทย์ และมานุษยวิทยาภาษา นอกจากนั้นแล้ว ณภัคยังสนใจงานเขียนว่าด้วยการเดินทางสำรวจในสมัยอาณานิคม ตลอดจนประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาการเมืองของการอนุรักษ์ธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อเขียนชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นที่เขากำลังศึกษาอยู่
พริลลา ทาเนีย
พริลลา ทาเนีย (Prilla Tania) เป็นศิลปินที่ใช้สื่ออันหลากหลาย เธอใช้ประติมากรรมนุ่ม ศิลปะจัดวาง ภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งในการนำเสนอผลงาน งานของเธอได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจแห่งอาหาร และความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ นิทรรศการที่จัดแสดง In To The Future, National Gallery of Indonesia, จาการ์ตา (พ.ศ.2562); Jogja Biennale XII: Not A Dead End, ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2556) และนิทรรศการเดี่ยว E, Selasar Sunaryo Art Space, บันดุง (พ.ศ.2665)
สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา
สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา (Sutthirat Supaparinya) ใช้สื่ออันหลากหลาย เพื่อตั้งคำถามและตีความถึงข้อมูลสาธารณะโดยมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่มีต่อภูมิทัศน์ รวมถึงเผยให้เห็นหรือถามเกี่ยวกับโครงสร้างที่สร้างผลกระทบต่อชาติของเธอ/เรา ในฐานะประชากรโลก สุทธิรัตน์ได้แสดงงานในนิทรรศการ สัตว์ร้าย พระเจ้า และเส้นสายลายลาก, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม, เชียงใหม่ (พ.ศ.2564); Noodles and the Wild Things, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม, เชียงใหม่ (พ.ศ.2563); Jogja Biennale Equator #5, ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2562); 12th Gwangju Biennale, กวางจู (พ.ศ.2561) และ 38th EVA International – Ireland Biennale (พ.ศ.2561) เป็นต้น
เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัม
เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัม (The Forest Curriculum) (กรุงเทพฯ, ยอคยาการ์ตา, มะนิลา, โซล, เบอร์ลิน, ซานตา บาร์บาร่า) เป็นแพลตฟอร์มแบบไม่มีที่ตั้งถาวรหรือในรูปแบบพเนจรสำหรับการทำวิจัยแบบสหพันธวิชาและการเรียนรู้ร่วมกัน โดยทำงานในเอเชียอาคเนย์เป็นหลัก และทั่วโลก ก่อตั้งและอำนวยการร่วมกันโดยกลุ่มภัณฑารักษ์ Abhijan Toto, Pujita Guha และ Rosalia Namsai Engchuan เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัมทำงานร่วมกับศิลปิน กลุ่มบุคคล นักวิชาการ องค์กรและนักคิดระดับท้องถิ่น นักดนตรี และนักกิจกรรม เพื่อรวมเอาประเด็นซึ่งเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมีนัยสำคัญ (Anthropocene) ผ่านวัฒนธรรมชาติแห่งโซเมีย (Zomia) หรือแนวป่าที่เชื่อมต่อเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์เอาไว้ด้วยกันนั่นเอง เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัมจัดนิทรรศการ กิจกรรมสาธารณะ การแสดงสด โครงการภาพเคลื่อนไหวและสื่อผสม รวมถึงจัดสัมมนาประจำปีในแต่ละพื้นที่ของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งได้รวบรวมผู้เข้าร่วมการจากทั่วโลกเพื่อร่วมกันทำวิจัยแบบกลุ่มและแลกเปลี่ยนวิธีการ ได้แก่ The Forest And The School, กรุงเทพฯ (พ.ศ.2562); The Forest is in the City is in the Forest I, มะนิลา (พ.ศ.2563) และ The Forest is in the City is in the Forest II, ออนไลน์ (พ.ศ.2563-2564) แพลตฟอร์มที่ทำงานร่วมกับหลากหลายสถาบันและองค์กรทั่วโลก ได้แก่ Savvy Contemporary, เบอร์ลิน; Ideas City, the New Museum, NTU CCA, สิงคโปร์, Nomina Nuda, Los Baños, and GAMeC, เบอร์กาโม เป็นต้น
ติตา ซารีน่า
ติตา ซารีน่า (Tita Salina) ใช้การแทรกแซง ศิลปะจัดวาง และภาพเคลื่อนไหวในการโต้ตอบประเด็นที่เกิดขึ้นในพื้นที่เฉพาะเจาะจงอันส่งเสียงก้องสะท้อนไปทั่วโลก 1001st Island – the most sustainable island in archipelago, พ.ศ.2558 ได้สำรวจประเด็นข้ามชาติว่าด้วยเรื่องการเพิกถอนสิทธิ์ของชุมชน มลพิษทางสิ่งแวดล้อม และการฉ้อฉลของรัฐบาล ตามที่รัฐบาลได้แถลงการณ์ไว้ในแผนซ่อมแซมและฟื้นฟูหาดจาการ์ตา ติตาร่วมแสดงในนิทรรศการ Bangkok Art Biennale, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, กรุงเทพฯ (พ.ศ.2563); The Coming World: Ecology as the New Politics 2030–2100, Garage Museum of Contemporary Art, มอสโคว, รัสเซีย (พ.ศ.2562); Irwan Ahmett and Tita Salina: The Ring of Fire (พ.ศ.2557 – ปัจจุบัน), NTU Centre for Contemporary Art Singapore, สิงคโปร์ (พ.ศ.2562) และ From Bandung to Berlin: If all of the moons aligned, SAVVY Contemporary, เบอร์ลิน, เยอรมันนี (พ.ศ.2559) เป็นต้น
วุฒ ชลานันต์
วุฒ ชลานันต์ (Wut Chalanant) ศิลปินและนักถ่ายภาพอาศัยอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย สุนทรียะของเขาเกี่ยวโยงกับแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพื้นที่ในยุคสมัยใหม่ งานภาพถ่ายของเขาตั้งอยู่บนความสนใจในคตินิยมแห่งการพัฒนาความเป็นเมือง อย่าง ที่ดินสามารถเปลี่ยนรูปได้อย่างไรบ้างท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของความต้องการในเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นการถ่างช่องว่างในบริบทดังกล่าวออกเพื่อให้เกิดการตีความความจริงใหม่ ๆ วุฒจบการศึกษาจาก Hochschule für Grafik und Buchkunst (Academy of Fine Arts Leipzig), ไลพ์ซิก, เยอรมันนี เขาได้แสดงในนิทรรศการ Southeast X Southeast, Southeast Museum of Photography, เดโทนาบีช, สหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2561) และ most of the wild – least of the wild, Hochschule für Grafik und Buchkunst (Academy of Fine Arts Leipzig), ไลพ์ซิก, เยอรมันนี (พ.ศ.2561)
email: info@factoryartscentre.com
โพลิเนชั่น Pollination
ริเริ่มโดย เดอะ แฟคทอรี่ อาร์ท เซ็นเตอร์ (กรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม) ในปี 2561 โครงการ ‘Pollination’ เปิดโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่างภัณฑารักษ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการสนับสนุนโดยความร่วมมือของสถาบันศิลปะเอกชนในภูมิภาค เพื่อเน้นให้เห็นถึงคุณค่าแห่งการแบ่งปัน (เช่นเดียวกับการผสมผสาน) ทั้งในด้านความคิดเชิงวิพากษ์ และกิจกรรมอันหลากหลาย ซึ่งมีเจตนาที่จะเสริมสร้างสังคมภูมิภาคของกลุ่มผู้ผลิต อันเป็นการเชื่อมโยงบุคคลผู้มีความสามารถให้เป็นที่รู้จักกับ เครือข่าย พื้นที่ และโอกาส Pollination มุ่งหวังที่จะสนับสนุนและดูแลการปฏิบัติการเชิงศิลปะ โดยทำหน้าที่พิสูจน์ความสมเหตุสมผล น้ำหนักของเนื้อหา และการทำงาน ผ่านการตั้งคำถามและสื่อสารในมุมมองเชิงลึก ที่ตัวศิลปินและภัณฑารักษ์สามารถแลกเปลี่ยนและสะท้อนความเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา งานเขียนและการเสวนาหรือการอภิปรายที่เข้มข้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เฉกเช่นทรัพยากรภายในที่เราสามารถทำการเข้าถึงและเปรียบเทียบคุณค่าได้ Pollination ได้รับการวางแผนให้เป็นโครงการซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือกันในระยะยาว ระหว่างหน่วยงาน สถาบัน และกลุ่มสังคมต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้เป้าหมายเพื่อการเสนอโอกาส ให้กับภัณฑารักษ์และศิลปินรุ่นใหม่ได้ทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ผู้ซึ่งมีแก่นและทัศนะคติคล้าย ๆ กันภายในภูมิภาคของพวกเขาเอง ในฐานะที่เป็นองค์กรเอกชน/ซึ่งไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาล องค์กรแรกที่ริเริ่มการปฏิบัติงานลักษณะดังกล่าว Pollination มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนา สนับสนุน และบำรุงทักษะและความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินและภัณฑารักษ์ ผู้มีความสนใจในการทำงาน (และตั้งคำถาม) เกี่ยวกับโครงสร้างสถาบันต่าง ๆ อันเป็นภาพลักษณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สามของโครงการ Pollination โครงการวิจัยที่เริ่มขึ้นเมื่อช่วงก่อนโรคระบาดในปี 2563 มีส่วนประกอบในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้คือ งานนิทรรศการ การสัมมนาออนไลน์ และเว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
โครงการ Pollination ครั้งที่สามจัดขึ้นโดย The Factory Contemporary Arts Centre; ร่วมสนับสนุนโดย SAM Funds for Arts and Ecology, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วสมัยใหม่เอี่ยม และ Grey Center for Art and Enquiry, The University of Chicago ด้วยการสนับสนุนจาก Selasar Sunaryo Art Centre
โครงการ ‘Pollination’ ครั้งที่สาม คัดสรรโดย เลอร์ และ กิตติมา จารีประสิทธิ์ ภายในชื่อ ‘Of Hunters and Gatherers’ กิจกรรมจะประกอบไปด้วย นิทรรศการ การจัดเสวนารูปแบบออนไลน์ และเว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
‘นักล่า’ คือนิทรรศการร่วมระหว่าง มาริอันโต (ยอคยาการ์ตา) และเรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล (กรุงเทพฯ) จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ (19 มีนาคม – 30 มิถุนายน 2564) และจะเดินทางไปแสดงต่อที่ ใหม่อีหลี อาร์ต สเปซ (ขอนแก่น, ปลายปี 2564) หลักจากได้ศึกษาร่วมกันตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 รวมถึงการเดินการลงพื้นที่ทั้งบริเวณรอบของภูเขาไฟเมอราปีที่ยังคุกรุ่น ในยอคยาการ์ตา จนถึงแม่น้ำโขงตอนล่างบริเวณชายแดนประเทศไทย – ลาวที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน พวกเขาได้พบเจอศิลปินที่ทำงานเฉพาะด้าน ผลงานศิลปะ ผลงานการแสดง และผลงานวิจัยทางสังคม ที่ต่างสนใจในประเด็นความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น อันเนื่องมาจากความเป็นจริงที่รัฐบาลเพิกเฉย การสกัดเอาทรัพยากรในอาณานิคม และ ความละโมบของบริษัทใหญ่ พวกเขาจึงสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับ ‘องค์ความรู้ท้องถิ่นที่ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน’ (นิทานพื้นบ้าน นิทานปรับปรา เรื่องเล่าก่อนนอน และวิธีการพื้นถิ่นในการธำรงไว้ซึ่งระบบนิเวศ) เหล่าภัณฑารักษ์ตระหนักได้ถึงความจำเป็นในการรับฟังด้านอื่น ๆ ของเรื่องราว ไม่ใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง เรื่องเล่าที่แตกต่างกันนี้ปรากฏในรูปแบบของการเสวนาออนไลน์ ระหว่างวันที่ 28 – 30 พฤษภาคม 2564 โดยใช้ชื่อ ‘ผู้รวบรวม’ จัดขึ้นโดย Selasar Sunaryo Art Space (บันดุง)
การเสวนาดังกล่าวหมายจะเปิดตัวเว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ‘www.ofhuntersandgatherers.com’ โดยครอบคลุมทั้งผลงานเขียนใหม่และผลงานเดิมที่เคยตีพิมพ์แล้ว ไปจนถึงเอกสารบันทึกเกี่ยวกับนิทรรศการ วีดิโอสัมภาษณ์ เว็ปไซต์นี้มุ่งหมายจะเป็นพื้นที่ทางเลือกในการเรียนรู้เกี่ยวกับ ‘องค์ความรู้ท้องถิ่นที่ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน’ และความเชื่อมโยงขององค์ความรู้ดังกล่าวกับการคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนทางระบบนิเวศอีกครั้ง โดยความร่วมมือจากเหล่าผู้ทำงานสร้างสรรค์ในหลายหลายรูปแบบ ได้แก่ เลอร์ (มิร่า อัสลินนิงเตียส และ ดิโต้ ยูโวโน), กิตติมา จารีประสิทธิ์, เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล, มาริอันโต้, พริลลา ทาเนีย, เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัม, อลิซาเบธ ดี อีนานเดียก, วุฒ ชลานันต์, เจเจ ริซาล, ติตา ซารีน่า, ณภัค เสรีรักษ์, สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา บรรณาธิการโดย โซอี้ บัต, ลี เวง ชอย ออกแบบโดย รักพงษ์ รัยมธุรพงษ์ และ โยนาส คริสตี้ ซานจายา
กิจกรรมสาธารณะชุดนี้ถูกเชื่อว่าเป็นการสร้างสะพานเชื่อมระหว่าง ‘นักล่า’ และ ‘ผู้รวบรวม’ ซึ่งกิจกรรมในปี 2564 ได้แก่ ‘The Plus Partnership Series’ จัดขึ้นโดย Art Curator Grid ภายใต้ชื่อ “Curator Conversation: Of Hunters and Gatherers” ในวันที่ 1 เมษายน 2564 ร่วมด้วย ‘FarBar’ โดย Gray Centre for Arts and Inquiry (University of Chicago) ภายใต้ชื่อ “Land, River, and Sea: The Moving Landscape ‘Of Hunters and Gatherers’” โดยประกอบด้วยกิจกรรมฉายภาพยนตร์ 3 สัปดาห์ เป็นผลงานจาก มาริอันโต้, นนทวัฒน์ นําเบญจพล, พริลลา ทาเนีย, ติตา ซารีน่า และ วุฒ ชลานันต์ (21 เมษายน – 12 พฤษภาคม 2564) รวมถึงการเสวนาออนไลน์ในวันที่ 28 เมษายน 2564 เข้าชมบันทึกของการเสาวนาดังกล่าวได้ที่นี่
‘Pollination’ ริเริ่มโดย เดอะ แฟคทอรี่ อาร์ท เซ็นเตอร์ (กรุงโฮจิมินห์) ในปี 2561 การจัดขึ้นเป็นครั้งที่สามของโครงการนี้เป็นไปได้โดยการสนับสนุนของ SAM Fund for Arts nd Ecology (จาการ์ตา) พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม (เชียงใหม่) ด้วยการสนับสนุนจาก Selasar Sunaryo Art Space (บันดุง) และ Gray Center for Arts and Inquiry (University of Chicago, สหรัฐอเมริกา) ขอขอบคุณที่ปรึกษาภัณฑ์รักษ์ อากุง ฮูจาทนิกาเจนอง, วิภาช ภูริชานนท์ และ โซอี้ บัต อีกทั้งขอขอบคุณไปยัง นาตาชา เซฮารา และ เอริค บูซท์ เป็นพิเศษสำหรับความเชื่อมั่นที่มอบให้โครงการของเรา!
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ‘Pollination’ ได้ทาง https://factoryartscentre.com/en/programs/pollination-eng/
กิจกรรมซิมโพเซียมรูปแบบออนไลน์จะจัดขึ้นในวันที่ (28 – 30 พฤษภาคม 2564) โดยมีเป้าหมายเพื่อจะรวบรวมงานวิจัย เรื่องเล่า และมุมมองจากหลากหลายศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังโครงการ Pollination เข้าด้วยกันในชื่อ ‘Of Hunters and Gatherers’ คัดสรรโดยภัณฑารักษ์ เลอร์ ( LIR) และ กิตติมา จารีประสิทธิ์ คู่ขนาดไปกับการทำงานร่วมกับศิลปิน มาริอันโต้ และเรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล
ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ภัณฑารักษ์ได้ร่วมทำงานกับศิลปินผ่านการลงพื้นที่ทั้งบริเวณรอบของภูเขาไฟเมอราปีที่ยังคุกรุ่น ในยอคยาการ์ตา จนถึงแม่น้ำโขงตอนล่างบริเวณชายแดนประเทศไทย-ลาวที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน พวกเขาได้พบเจอศิลปินที่ทำงานเฉพาะด้าน, ผลงานศิลปะ, ผลงานการแสดง และผลงานวิจัยทางสังคม ที่ต่างสนใจในประเด็นความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น อันเนื่องมาจากความเป็นจริงที่รัฐบาลเพิกเฉย การสกัดเอาทรัพยากรในอาณานิคม และ ความละโมบของบริษัทใหญ่ พวกเขาจึงสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับ ‘องค์ความรู้ท้องถิ่นที่ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน’ (นิทานพื้นบ้าน นิทานปรับปรา เรื่องเล่าก่อนนอน และวิธีการพื้นถิ่นในการธำรงไว้ซึ่งระบบนิเวศ) เหล่าภัณฑารักษ์ตระหนักได้ถึงความจำเป็นในการรับฟังด้านอื่น ๆ ของเรื่องราว ไม่ใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นการเสวนาออนไลน์ในครั้งนี้จึงได้รวบรวมเหล่านักคิดจากทั้งประเทศอินโดนิเซีย ไทย และอินเดีย (ศิลปิน, นักประวัติศาสตร์, คนทำภาพยนตร์, ภัณฑารักษ์, นักเขียน, นักสังคมศาสตร์ และอื่นๆ) เพื่อที่จะแบ่งปันทั้งผลงาน ความคิดเห็น ที่ขยายความความหมายถึง ‘การล่า’ เพื่อสนองความต้องการอันหลากหลายของพวกเรา ผ่านการใช้เวลา ‘รวบรวม’ มุมมองที่แตกต่างหลากหลายที่จะไปสู่อนาคตข้างหน้า กิจกรรมซิมโพเซียมรูปแบบออนไลน์นี้จะมอบมุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ‘Pollination’ ครั้งที่สาม ทั้งในรูปแบบการบันทึกทั้งตัวบทและภาพในเชิงศิลปะ งานภัณฑารักษ์ และ การวิจัยเชิงทฤษฎีที่ต่างเกิดขึ้นภายใต้โครงการนี้
เว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะนี้ จะเปิดให้เข้าชมได้ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เนื้อหาทั้งหมดถูกแปลในสามภาษาทั้งไทย อังกฤษ และอินโดนิเซีย โดยครอบคลุมทั้งผลงานเขียนใหม่และผลงานเดิมที่เคยตีพิมพ์แล้ว ไปจนถึงเอกสารบันทึกเกี่ยวกับนิทรรศการ วีดิโอสัมภาษณ์ เว็ปไซต์นี้มุ่งหมายจะเป็นพื้นที่ทางเลือกในการเรียนรู้เกี่ยวกับ ‘องค์ความรู้ท้องถิ่นที่ถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน’ และความเชื่อมโยงขององค์ความรู้ดังกล่าวกับการคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนทางระบบนิเวศอีกครั้ง โดยความร่วมมือจากเหล่าผู้ทำงานสร้างสรรค์ในหลายหลายรูปแบบ ได้แก่ เลอร์ (มิร่า อัสลินนิงเตียส และ ดิโต้ ยูโวโน), กิตติมา จารีประสิทธิ์, เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล, มาริอันโต้, พริลลา ทาเนีย, เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัม, อลิซาเบธ ดี อีนานเดียก, วุฒ ชลานันต์, เจเจ ริซาล, ติตา ซารีน่า, ณภัค เสรีรักษ์, สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา บรรณาธิการโดย โซอี้ บัต, ลี เวง ชอย ออกแบบโดย รักพงษ์ รัยมธุรพงษ์ และ โยนาส คริสตี้ ซานจายา
ดร.อากุง ฮูจาทนิกา to ดร.อากุง ฮูจาทนิกาเจนนอง
ดร. อากุง ฮูจาทนิกา (Dr. Agung Hujatnika) หรือรู้จักในนาม อากุง ฮูจาทนิกาเจนอง (Agung Hujatnikajennong) ภัณฑารักษ์อิสระและอาจารย์ประจำคณะศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีบันดุง นิทรรศการที่เขาได้คัดสรร ได้แก่ Fluid Zones, Jakarta Biennale ARENA (พ.ศ.2552); Exquisite Corpse, Bandung Pavilion for the Shanghai Biennale (พ.ศ.2555); Not a Dead End, Jogja Biennale – Equator #2 (พ.ศ.2556); Passion/ Possession (พ.ศ.2557) และนิทรรศการเดี่ยวของ Tintin Wulia, 1001 Martian Homes, Indonesian Pavilion, Venice Biennale (พ.ศ.2560) เขาเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศิลป์ให้กับ Instrumenta นิทรรศการสื่อศิลปะในจาการ์ตา (พ.ศ.2561-2562) อากุงได้มีส่วนร่วมในหลากหลายโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับศิลปะในอินโดนีเซียและเอเชียอาคเนย์ Ambitious Alignments (พ.ศ.2556-2558) และ Shaping Indonesian Contemporary Arts – Role of the Institutions (พ.ศ.2557-2560) หนังสือของเขาชื่อ Kurasi dan Kuasa ซึ่งเกี่ยวกับการทำงานภัณฑารักษ์และความสัมพันธ์ทางอำนาจในโลกศิลปะของอินโดนีเซียถูกตีพิมพ์โดย Jakarta Arts Council (พ.ศ.2558)
วิภาช ภูริชานนท์
วิภาช ภูริชานนท์ (Vipash Purichanont) ภัณฑารักษ์ผู้พำนักในกรุงเทพมหานคร เขาดำรงตำแหน่งอาจารย์ที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาเป็นภัณฑารักษ์ในโครงการ Kamin Lertchaiprasert: 31st Century Museum of Contemporary Spirit, ชิคาโก้ (พ.ศ.2554); Tawatchai Puntusawasdi: Superfold, กัวลาลัมเปอร์ (พ.ศ.2562) และ Concept Context Contestation: Art and the Collective in Southeast Asia, กรุงเทพฯ, ยอคยาการ์ตา, ฮานอย, ย่างกุ้ง (พ.ศ.2556-2562) ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ใน Thailand Biennale, กระบี่ (พ.ศ.2561) เป็นภัณฑารักษ์ใน Singapore Biennale 2019, สิงคโปร์ (พ.ศ.2562) และเป็นภัณฑารักษ์ร่วมใน Thailand Biennale (นครราชสีมา, พ.ศ.2564) รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งร่วมของ Waiting You Curator Lab กลุ่มภัณฑารักษ์ซึ่งพำนักอยู่จังหวัดเชียงใหม่
กิตติมา จารีประสิทธิ์
กิตติมา จารีประสิทธิ์ (Kittima Chareeprasit) จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขา Curating & Collections จาก Chelsea College of Arts ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งภัณฑารักษ์ให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จังหวัด เชียงใหม่ เธอร่วมเปิดห้องทดลองภัณฑารักษ์และสำนักพิมพ์หนังสือศิลปิน ในนาม Waiting You Curator Lab (2559) กิตติมาสนใจศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยเฉพาะประเด็นที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ สังคม และการเมืองเชิงวิพากษ์ ทั้งที่เกี่ยวกับประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานร่วมกับนัก วิชาการ ศิลปิน องค์กร และพื้นที่ทางศิลปะในหลากหลายรูปแบบจากหลากหลายประเทศ
กิตติมาได้ร่วมทำงานทั้งในฐานะภัณฑารักษ์หลักและภัณฑารักษ์ร่วม เธอเป็นภัณฑารักษ์นิทรรศการ House Calls: Pinaree Sanpitak ที่ มูลนิธิ 100 ต้นสน (2563) Breast Stupa Cookery: the world turns upside down ที่ โนว่า คอนเทมโพรารี่ (2563) แดนชั่ว ขณะ: ศิลปะสะสมใหม่เอี่ยม พ.ศ. 2553 – 2562 (2562), นิทรรศการ In search of other times: reminiscence of things collected ที่ JWD Art Space กรุงเทพ (2562) นิทรรศการ Occasionally Utility ที่แกลเลอรี่เว่อร์ กรุงเทพฯ (2560), นิทรรศการ The Thing That Takes Us Apart ที่แกลเลอรี่ซีสเขป เชียงใหม่ (2560) เป็นต้น
เลอร์
เลอร์ (LIR) (ยอคยาการ์ตา) คือ สถาบันศิลปะจัดซึ่งตั้งขึ้นโดยกลุ่มภัณฑารักษ์ มิร่า อัสลินนิงเตียส (เกิด พ.ศ. 2529, พำนักอยู่ที่เมือง ยอคยาการ์ตา) และ ดิโต้ ยูโวโน (เกิด พ.ศ. 2528, พำนักอยู่ที่เมือง ยอคยาการ์ตา) นับตั้งแต่ปี 2554 การทำงานของเลอร์ ครอบคลุมทั้งนิทรรศการเชิงทดลอง โครงการวิจัยสู่กิจกรรมสาธารณะ โครงการศิลปินพำนัก ไปจนถึงการเป็นพื้นที่ศึกษาศิลปะทางเลือก กิจกรรมของเลอร์แสดงให้เห็นถึงการผสานและข้ามศาสตร์และการทำงานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการนำเสนอนิทรรศการที่สนับสนุนการส่งผ่านการเปลี่ยนแปลงย่างต่อเนื่องของความรู้ ความทรงจำ และประวัติศาสตร์ จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ผลงานล่าสุดของเลอร์ได้แก่ นิทรรศการชุด Curated by LIR, KKF, ยอคยาการ์ตา, พ.ศ.2561-2563); Transient Museum of a Thousand Conversations, ISCP, นิวยอร์ก, พ.ศ.2563 และ 900mdpl, คาลูรัง, พ.ศ. 2560, 2562 และ 2564 รวมถึง โครงการระยะยาวที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ ณ เมืองคาลูรัง ประเทศอินโดนีเซีย โดยศึกษาเกี่ยวกับหมู่บ้านเก่าแก่บริเวณใต้ภูเขาไฟ ด้วยความตั้งใจที่จะเก็บรักษาความทรงจำร่วมของผู้คนในพื้นนั้น
แมรีอันโต (ID)
มาริอันโต้ (Maryanto) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีขาวดำ ภาพวาดเส้น และศิลปะจัดวางอันชวนหลากหลายรูปแบบ ผลงานของเขาทำลายภาษาอันเย้ายวนแห่งจิตรกรรมภูมิทัศน์แบบดั้งเดิม เพื่อสำรวจโครงสร้างทางสังคมและการเมืองของสถานที่จริงที่ปรากฏในงาน
ผ่านการทำให้พื้นที่เหล่านั้นเสมือนกับเป็นนิทานและฉากของโรงละคร จิตรกรรมภูมิทัศน์เหล่านั้นนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับเหล่าผู้ตั้งอาณานิคมและนายทุน ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี การทำให้เป็นอุตสาหกรรม มลพิษในที่ดิน และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ มาริอันโต้จบการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ ณ สถาบัน Indonesia Institute of the Art เมือง ยอคยาการ์ตา ในปี 2547 เขาเข้าร่วมโครงการศิลปินพำนักที่ Rijksakademie ณ อัมสเตอร์ดัม ในปี 2556 นิทรรศการที่จดจำของเขาได้แก่ Permanent Osmosis, LIR Space, ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2562, นิทรรศการเดี่ยว); A Journey of Forking Paths, Yeo Workshop, สิงคโปร์ (พ.ศ.2562, นิทรรศการเดี่ยว); On the Shoulders of Fallen Giants: 2nd Industrial Art Biennial, Labin, โครเอเชีย (พ.ศ.2561); Behind the Terrain, Koganei Art Spot Chateau, โตเกียว (พ.ศ.2561) มาริอันโต้เกิดที่จาร์กาต้า ปัจจุบันอาศัยและทำงานในยอคยาการ์ตา
เรืองศักดิ์ อนุวัฒน์วิมล (TH)
เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล (Ruangsak Anuwatwimon) เกิดและอาศัยในกรุงเทพมหานคร สร้างสรรค์ผลงานโดยได้รับแรงบันดาลใจและถูกขับเคลื่อนด้วยประเด็นทางการเมืองรวมไปถึงสถานการณ์ในสังคมที่เขาได้ประสบพบเจอในชีวิต ในการทำงานศิลปะ เขาสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหลักอย่างมนุษย์และโลกแห่งธรรมชาติด้วยการใช้สื่อที่หลากหลาย ผลงานของเขาจึงท้าทายทั้งความหมายและขอบเขตของคำว่า ‘งานศิลปะ’ ด้วยการตั้งคำถามถึงประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และศีลธรรมของสังคมมนุษย์ ผลงานของเขาได้จัดแสดงในหลากหลายนิทรรศการ อาทิ ‘Monstrous Phenomenon’, 1Projects, กรุงเทพฯ (พ.ศ.2562, นิทรรศการเดี่ยว); แดนชั่ว ขณะ: ศิลปะสะสมใหม่เอี่ยม พ.ศ.2553 – 2562, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม, เชียงใหม่ (พ.ศ.๒๕๖๒); Every Step in the Right Direction – Singapore Biennale 2019, สิงคโปร์ (พ.ศ.2562); Post-Nature – A Museum as an Ecosystem: 11th Taipei Biennial, ไทเป (พ.ศ.2561) และปี 2563 เรืองศักดิ์ได้เป็นส่วนหนึ่งของ บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่
ลี เวง ชอย
ลี เวง ชอย (Lee Weng Choy) นักวิจารณ์และที่ปรึกษาทางด้านศิลปะ เขาได้ร่วมโครงการกับหลากหลายองค์กรศิลปะ เช่น Ilham Gallery และ A+ Works of Art, กัวลาลัมเปอร์ และ NTU Centre for Contemporary Art Singapore และ National Gallery Singapore, สิงคโปร์ เขาเขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยและวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทความของปรากฏในหลากหลายวารสาร เช่น Afterall and anthologies such as Modern and Contemporary Southeast Asian Art, Over Here: International Perspectives on Art and Culture and Theory in Contemporary Art since 1985 ปัจจุบัน ลีดำรงตำแหน่งประธานใน Singapore Section of the International Association of Art Critics ที่ผ่านมา เขาเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศิลป์ร่วมของ The Substation, สิงคโปร์ สอนหนังสือใน School of the Art Institute of Chicago, Chinese University of Hong Kong และ Sotheby’s Institute of Art, สิงคโปร์
โซอี้ บัต
โซอี้ บัต (Zoe Butt) ภัณฑารักษ์และนักเขียน พำนักในประเทศเวียดนาม การทำงานของเธอมุ่งเน้นการสร้างความคิดเชิงวิพากษ์ และชุมชนศิลปะที่มีการตระหนักรู้เชิงประวัติศาสตร์ รวมถึงสนับสนุนการสร้างบทสนทนาภายในกลุ่มประเทศโลกที่สาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยศิลป์การประจำ Factory Contemporary Arts Centre, นครโฮจิมินห์ พื้นที่แรกในเวียดนามที่สร้างขึ้นสำหรับศิลปะร่วมสมัย ก่อนหน้านี้ โซอี้เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและภัณฑารักษ์ประจำ Sàn Art, นครโฮจิมินห์ (พ.ศ.2552-2559); ผู้อำนวยการโครงการต่างประเทศที่ Long March Project, กรุงปักกิ่ง (พ.ศ.2550-2552); และผู้ช่วยภัณฑารักษ์ที่ Contemporary Asian Art, Queensland Art Gallery, บริสเบน (พ.ศ.2544-2550) ซึ่งต่อมาได้มุ่งเน้นการพัฒนานิทรรศการ Asia-Pacific Triennial of Contemporary Art งานเขียนของเธอถูกเผยแพร่โดย Hatje Cantz; ArtReview; Independent Curators International; ArtAsiaPacific; Printed Project; Lalit Kala Akademi; JRP-Ringier; Routledge และ Sternberg Press เป็นต้น โครงการของเธอ รวมถึงแพลตฟอร์มการสร้างบทสนทนาเชิงสหวิทยาการ ได้แก่ Conscious Realities (พ.ศ.2556-2559); นิทรรศการออนไลน์ Embedded South(s) (พ.ศ.2559); และนิทรรศการกลุ่มโดยศิลปินชาวเวียดนามและศิลปินนานาชาติที่จัดขึ้นในหลากหลายสถานที่ นิทรรศการเมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่ Sharjah Biennial 14: Leaving the Echo Chamber – Journey Beyond the Arrow, (พ.ศ.2562); Empty Forest: Tuan Andrew Nguyen (พ.ศ.2561); Spirit of Friendship and Poetic Amnesia: Phan Thao Nguyen (พ.ศ.2560); Dislocate: Bui Cong Khanh (พ.ศ.2559), Conjuring Capital (พ.ศ.2558) โซอี้เป็นหนึ่งในภัณฑารักษ์นานาชาติของ MoMA; สมาชิกของ Asian Art Council โดย Solomon R. Guggenheim Museum นิวยอร์ก และในปี 2558 เธอเคยถูกเรียกว่าเป็นผู้นำโลกรุ่นเยาวชนจากสภาเศรษฐกิจโลก
อดัม บ็อบเบ็ต
อดัม บ็อบเบ็ต (Adam Bobbette) เป็นนักภูมิศาสตร์และนักวิจัยในโครงการวิจัย New Earth Histories มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ซิดนีย์
อลิซาเบธ ดี อีนานเดียก
อลิซาเบธ ดี อีนานเดียก (Elisabeth D. Inandiak) เป็นนักเขียน นักแปล และข้าราชการ เกิดที่ประเทศฝรั่งเศส เธอเริ่มเดินทางทั่วโลกในฐานะนักสื่อมวลชนตอนอายุ 19 ปี เขียนวรรณคดีหลายเล่ม เช่น เรื่องราวชีวิตของ Marceline Loridan Ivens หญิงเชื้อสายยิวผู้ถูกเนรเทศในค่ายกักกันเอาท์วิทซ์ ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง รวมถึงได้เขียนบทภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น A Tale of the Wind ร่วมกับผู้กำกับสารคดีชาวดัตช์ Joris Ivens ในปี 2532 เธอลงหลักปักฐานที่ยอคยาการ์ตา อลิซาเบธเรียบเรียงวรรณกรรมชวาชื่อดัง อย่าง Serat Centhini ให้เป็นฉบับคริสต์ศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชื่อว่า Kekasih yang Tersembunyi หลังจากแผ่นดินไหววันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2549 เธอได้ก่อตั้งสตูดิโอ Giri Gino Guno ใน เบเบกัน บันตุล ขณะที่เกิดการระเบิดของภูเขาไฟเมอราปีวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2553 เธอและโรงเรียนประจำ Al Qodir Islamic ได้ร่วมกันจัดหาที่อยู่อาศัยให้ผู้คนจากหมู่บ้านคินาเจโรจนกระทั่งพวกเขาสามารถกลับไปยังบ้านของพวกเขาได้
จากประสบการณ์ในภัยพิบัติทางธรรมชาติสองครั้งนี้ ได้เกิดเป็นหนังสือ Babad Ngalor-Ngidul ซึ่งได้ศิลปิน Heri Dono มาร่วมวาดภาพประกอบ เป็นหนังสือภาคต่อของ Lahirnya Kembali Beringin Putih (พ.ศ.2542) เธอได้สร้างผลงานล่าสุดร่วมกับชาวบ้านจากหมู่บ้าน Muara Jambi ในสุมาตรา โดยใช้ชื่อ Mimpi-Mimpi dari Pulau Emas ซึ่งประกอบด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน นิทานปรัมปรา และการใช้ดวงตาที่สามเพื่อการขุดค้นโบราณสถานทางพุทธศาสนา นับว่าเป็นการสร้างปัญญาและความสงบสุขร่วมกันกับพวกเขา
เจเจ ริซาล
เจเจ ริซาล (JJ Rizal) เป็นนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และผู้ก่อตั้ง Penerbit Komunitas Bambu สำนักพิมพ์ที่มุ่งเสนอเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม งานวิจัยของเขาให้ความสนใจในประวัติศาสตร์ของ บาตาเวีย-เบอตาวี-จาการ์ตา ซึ่งถูกตีพิมพ์อย่างแพร่หลายบนนิตยสาร MOESSON Het Indisch Maandblad (พ.ศ.2544-2549) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ปี 2552 เขาได้รับรางวัล DKI Jakarta Governor Cultural Award ผลงานการเขียนเกี่ยวกับ Junghuhn ของเขาได้รับเลือกให้เป็น “The Best International 2010” โดยนิตยสาร National Geographic International จากกว่าร้อยบทความในนิตยสาร National Geographic นอกสหรัฐอเมริกากว่า 36 ฉบับ ในปี 2554 เขาได้รับรางวัล Jakarta Book Awards IKAPI (Indonesian Publisher Association) จาการ์ตา ซึ่งถูกพิจารณาให้เป็น
“หนังสือที่ให้ความรู้และเปลี่ยนชีวิต” งานตีพิมพ์อื่น ๆ ของเขา เช่น Politik Kota Kita (พ.ศ.2549); Onze Ong: Onghokham dalam Kenangan (พ.ศ.2550); Sejarah yang Memihak: Mengenang Sartono Kartodirdjo (พ.ศ.2551) และ Raden Saleh: Anak Belanda, Mooi Indie dan Nasionalisme
กิตติมา จารีประสิทธิ์
กิตติมา จารีประสิทธิ์ (Kittima Chareeprasit) จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขา Curating & Collections จาก Chelsea College of Arts ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งภัณฑารักษ์ให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จังหวัด เชียงใหม่ เธอร่วมเปิดห้องทดลองภัณฑารักษ์และสำนักพิมพ์หนังสือศิลปิน ในนาม Waiting You Curator Lab (2559) กิตติมาสนใจศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยเฉพาะประเด็นที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ สังคม และการเมืองเชิงวิพากษ์ ทั้งที่เกี่ยวกับประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานร่วมกับนัก วิชาการ ศิลปิน องค์กร และพื้นที่ทางศิลปะในหลากหลายรูปแบบจากหลากหลายประเทศ
กิตติมาได้ร่วมทำงานทั้งในฐานะภัณฑารักษ์หลักและภัณฑารักษ์ร่วม เธอเป็นภัณฑารักษ์นิทรรศการ House Calls: Pinaree Sanpitak ที่ มูลนิธิ 100 ต้นสน (2563) Breast Stupa Cookery: the world turns upside down
ที่ โนว่า คอนเทมโพรารี่ (2563) แดนชั่ว ขณะ: ศิลปะสะสมใหม่เอี่ยม พ.ศ. 2553 – 2562 (2562), นิทรรศการ In search of other times: reminiscence of things collected ที่ JWD Art Space กรุงเทพ (2562) นิทรรศการ Occasionally Utility ที่แกลเลอรี่เว่อร์ กรุงเทพฯ (2560), นิทรรศการ The Thing That Takes Us Apart ที่แกลเลอรี่ซีสเขป เชียงใหม่ (2560) เป็นต้น
มิร่า อัสลินนิงเตียส
มิร่า อัสลินนิงเตียส (Mira Asriningtyas) เป็นภัณฑรักษ์อิสระและนักเขียนเกี่ยวกับศิลปะ อาศัยในยอคยาการ์ตา อินโดนีเซีย เธอเป็นส่วนหนึ่งของ De Appel Cura- torial Program 2016/2017, De Appel Art Center, อัมสเตอร์ดัม และ RAW Academie 6: CURA ณ RAW Material Company, ดาก้า นอกจากนี้เธอทำโครงการ Poetry of Space, จาการ์ตา และ ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2557); Fine (Art) Dining, Lir Space, ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2559); Goodluck, See You After The Revolution, UVA, อัมสเตอร์ดัม (พ.ศ.2560); Why is Everybody Being So Nice?, De Appel Art Center and Stedelijk Museum, อัมสเตอร์ดัม, (พ.ศ.2560); Coming Soon, Fondazione Sandretto Re Rebaudengo, ตูริน (พ.ศ.2561) และ The Transient Museum of a Thousand Conversation, ISCP, นครนิวยอร์ก (พ.ศ.2563) เป็นต้น ในปี 2560 เธอเริ่มทำ 900mdpl โครงการศิลปะเบียนนาเล่รูปแบบเฉพาะเจาะจงพื้นที่ในบ้านเกิดของเธออย่างเมืองคาลูรัง ที่ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งอยู่บริเวณตีนภูเขาไฟเมอราปี เพื่อเก็บรักษากลุ่มความทรงจำ ด้วยการเชิญชวนคนในท้องถิ่นและศิลปินต่างชาติมาร่วมพำนักและรวบรวมความทรงจำเชิงสังคมที่เกี่ยวพันธ์กับพื้นที่ดังกล่าว แนวความคิดเรื่องการเรียนรู้จากองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายอันฝังรากในบริบทท้องถิ่นเพื่อสำรวจระบบองค์ความรู้ ความยั่งยืนทางนิเวศวิทยา และผลกระทบของลัทธิอาณานิคมได้กลายมาเป็นวิธีการหลักในการวิจัยทั้งหลายของเธอ เช่น Genealogy of Ghost and How to Co-Live with Them, Ono-matopee, ไอนด์โอเวน (พ.ศ.2564) และงานตีพิมพ์ เช่น Re- visiting the Long Slow Walk to 900mdpl: a Personal Note ใน www.naturalcapital.online; Popping the Utopian Bubble of Yogyakarta Art Scene, Metropolis M (พ.ย. 2560); Sugar, Spice, and Everything Nice: A Proposal of Possibilities and Disobedience, De Appel Art Center, อัมสเตอร์ดัม และ When Did You Last Sip Tea from the Saucer?, NERO and FSRR, อิตาลี
ณภัค เสรีรักษ์
ณภัค เสรีรักษ์ เป็นนักมานุษยวิทยาและนักวิจัยอิสระ เขาจบปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ และปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ระหว่างปี 2556 – 2560 งานเขียนจำนวนหนึ่งของเขามุ่งทำความเข้าใจประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของความรู้ทางการแพทย์ว่าด้วยเพศในสังคมไทย โดยอาศัยแนวการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์วิถีทางเพศ มานุษยวิทยาการแพทย์ และมานุษยวิทยาภาษา นอกจากนั้นแล้ว ณภัคยังสนใจงานเขียนว่าด้วยการเดินทางสำรวจในสมัยอาณานิคม ตลอดจนประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาการเมืองของการอนุรักษ์ธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อเขียนชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นที่เขากำลังศึกษาอยู่
พริลลา ทาเนีย
พริลลา ทาเนีย (Prilla Tania) เป็นศิลปินที่ใช้สื่ออันหลากหลาย เธอใช้ประติมากรรมนุ่ม ศิลปะจัดวาง ภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งในการนำเสนอผลงาน งานของเธอได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจแห่งอาหาร และความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ นิทรรศการที่จัดแสดง In To The Future, National Gallery of Indonesia, จาการ์ตา (พ.ศ.2562); Jogja Biennale XII: Not A Dead End, ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2556) และนิทรรศการเดี่ยว E, Selasar Sunaryo Art Space, บันดุง (พ.ศ.2665)
สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา
สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา (Sutthirat Supaparinya) ใช้สื่ออันหลากหลาย เพื่อตั้งคำถามและตีความถึงข้อมูลสาธารณะโดยมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่มีต่อภูมิทัศน์ รวมถึงเผยให้เห็นหรือถามเกี่ยวกับโครงสร้างที่สร้างผลกระทบต่อชาติของเธอ/เรา ในฐานะประชากรโลก สุทธิรัตน์ได้แสดงงานในนิทรรศการ สัตว์ร้าย พระเจ้า และเส้นสายลายลาก, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม, เชียงใหม่ (พ.ศ.2564); Noodles and the Wild Things, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม, เชียงใหม่ (พ.ศ.2563); Jogja Biennale Equator #5, ยอคยาการ์ตา (พ.ศ.2562); 12th Gwangju Biennale, กวางจู (พ.ศ.2561) และ 38th EVA International – Ireland Biennale (พ.ศ.2561) เป็นต้น
เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัม
เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัม (The Forest Curriculum) (กรุงเทพฯ, ยอคยาการ์ตา, มะนิลา, โซล, เบอร์ลิน, ซานตา บาร์บาร่า) เป็นแพลตฟอร์มแบบไม่มีที่ตั้งถาวรหรือในรูปแบบพเนจรสำหรับการทำวิจัยแบบสหพันธวิชาและการเรียนรู้ร่วมกัน โดยทำงานในเอเชียอาคเนย์เป็นหลัก และทั่วโลก ก่อตั้งและอำนวยการร่วมกันโดยกลุ่มภัณฑารักษ์ Abhijan Toto, Pujita Guha และ Rosalia Namsai Engchuan เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัมทำงานร่วมกับศิลปิน กลุ่มบุคคล นักวิชาการ องค์กรและนักคิดระดับท้องถิ่น นักดนตรี และนักกิจกรรม เพื่อรวมเอาประเด็นซึ่งเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมีนัยสำคัญ (Anthropocene) ผ่านวัฒนธรรมชาติแห่งโซเมีย (Zomia) หรือแนวป่าที่เชื่อมต่อเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์เอาไว้ด้วยกันนั่นเอง เดอะ ฟอเรส เคอริคูลัมจัดนิทรรศการ กิจกรรมสาธารณะ การแสดงสด โครงการภาพเคลื่อนไหวและสื่อผสม รวมถึงจัดสัมมนาประจำปีในแต่ละพื้นที่ของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งได้รวบรวมผู้เข้าร่วมการจากทั่วโลกเพื่อร่วมกันทำวิจัยแบบกลุ่มและแลกเปลี่ยนวิธีการ ได้แก่ The Forest And The School, กรุงเทพฯ (พ.ศ.2562); The Forest is in the City is in the Forest I, มะนิลา (พ.ศ.2563) และ The Forest is in the City is in the Forest II, ออนไลน์ (พ.ศ.2563-2564) แพลตฟอร์มที่ทำงานร่วมกับหลากหลายสถาบันและองค์กรทั่วโลก ได้แก่ Savvy Contemporary, เบอร์ลิน; Ideas City, the New Museum, NTU CCA, สิงคโปร์, Nomina Nuda, Los Baños, and GAMeC, เบอร์กาโม เป็นต้น
ติตา ซารีน่า
ติตา ซารีน่า (Tita Salina) ใช้การแทรกแซง ศิลปะจัดวาง และภาพเคลื่อนไหวในการโต้ตอบประเด็นที่เกิดขึ้นในพื้นที่เฉพาะเจาะจงอันส่งเสียงก้องสะท้อนไปทั่วโลก 1001st Island – the most sustainable island in archipelago, พ.ศ.2558 ได้สำรวจประเด็นข้ามชาติว่าด้วยเรื่องการเพิกถอนสิทธิ์ของชุมชน มลพิษทางสิ่งแวดล้อม และการฉ้อฉลของรัฐบาล ตามที่รัฐบาลได้แถลงการณ์ไว้ในแผนซ่อมแซมและฟื้นฟูหาดจาการ์ตา ติตาร่วมแสดงในนิทรรศการ Bangkok Art Biennale, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, กรุงเทพฯ (พ.ศ.2563); The Coming World: Ecology as the New Politics 2030–2100, Garage Museum of Contemporary Art, มอสโคว, รัสเซีย (พ.ศ.2562); Irwan Ahmett and Tita Salina: The Ring of Fire (พ.ศ.2557 – ปัจจุบัน), NTU Centre for Contemporary Art Singapore, สิงคโปร์ (พ.ศ.2562) และ From Bandung to Berlin: If all of the moons aligned, SAVVY Contemporary, เบอร์ลิน, เยอรมันนี (พ.ศ.2559) เป็นต้น
วุฒ ชลานันต์
วุฒ ชลานันต์ (Wut Chalanant) ศิลปินและนักถ่ายภาพอาศัยอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย สุนทรียะของเขาเกี่ยวโยงกับแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพื้นที่ในยุคสมัยใหม่ งานภาพถ่ายของเขาตั้งอยู่บนความสนใจในคตินิยมแห่งการพัฒนาความเป็นเมือง อย่าง ที่ดินสามารถเปลี่ยนรูปได้อย่างไรบ้างท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของความต้องการในเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นการถ่างช่องว่างในบริบทดังกล่าวออกเพื่อให้เกิดการตีความความจริงใหม่ ๆ วุฒจบการศึกษาจาก Hochschule für Grafik und Buchkunst (Academy of Fine Arts Leipzig), ไลพ์ซิก, เยอรมันนี เขาได้แสดงในนิทรรศการ Southeast X Southeast, Southeast Museum of Photography, เดโทนาบีช, สหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2561) และ most of the wild – least of the wild, Hochschule für Grafik und Buchkunst (Academy of Fine Arts Leipzig), ไลพ์ซิก, เยอรมันนี (พ.ศ.2561)
email: info@factoryartscentre.com